1. การสร้างภาพในงานกราฟิก
3. หลักการออกแบบ
4. ตัวอักษรและตัวพิมพ์

   การออกแบบกราฟิกเพื่อการสื่อความหมาย จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 9 ประการ คือ เส้น, รูปร่าง, รูปทรง, ขนาด, ทิศทาง, ที่ว่าง, ลักษณะผิว, ความเข้ม และสี ผู้ที่ทำการออกแบบจะต้องศึกษาองค์ประกอบ ในการออกแบบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะนำมาใช้ในงานออกแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม และมีคุณค่าในทางศิลปะ
องค์ประกอบในการออกแบบ แบ่งเนื้อหาได้ดังนี้ :
2.1. เส้น  :   2.2. รูปร่าง  :   2.3. รูปทรง  :   2.4. ขนาด  :   2.5. ทิศทาง  :  
2.6. พื้นที่ว่าง  :   2.7. ลักษณะพื้นผิว  :   2.8. ค่าน้ำหนักสี  :   2.9. สี  :   2.10. สรุปเกี่ยวกับสี
2.10. สรุปเกี่ยวกับสี
    กฤษมันต์ (2536: 11-14) กล่าวถึงการเลือกสีโดยแบ่งตามลักษณะการใช้งานไว้ว่า
2.10.1. สีที่ใช้บนสิ่งพิมพ์
    สีทุกสีมีความหมายในตัวของมันเอง และยังสามารถสื่อความหมายของมันออกมาในรูปแบบของสัญลักษณ์ทางความคิดที่เป็นนามธรรม สีให้ความรู้สึกโดยตรงต่อปฏิกิริยาของคนดังนี้
     ใช้สีอย่างระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการแสดงความแตกต่างในเรื่องของคุณภาพ และปริมาณ
     จำกัดการใช้สีให้พอดี การใช้สีมากๆ ทำให้เกิดความสับสน
     ใช้สีในส่วนสำคัญของ Chart, Map, Diagram ให้ตัดกับสีที่ใช้เป็นฉากหลัง์
     สีตัวอักษรหรือภาพต้องแตกต่างจากฉากหลังมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยให้มีการเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะการใช้สีของตัวอักษร
     สีที่ใช้เป็นตัวอักษรหรือภาพ ยกเว้นสีแดงและส้ม ควรใช้ให้มีความเข้มพอดี เพราะมีความแก่อ่อนของสีในระดับที่แตกต่างกันมาก

2.10.2. สีจากภาพฉาย
    (Snowberg 1971: อ้างถึงในกฤษมันต์, 2536) ได้สรุปการศึกษาของเขาไว้ดังนี้
     สำหรับการเห็นอย่างชัดเจนนั้น ฉากหลังควรใช้สีขาวบริสุทธิ์
     สีสำหรับฉากหลังของภาพฉายไม่ควรใช้ตามความชอบของแต่ละคน
     สำหรับการมองเห็นทั่วไป สีเขียวควรใช้ร่วมกับสีเหลือง เพื่อเสริมสร้างความเด่นชัดของสีเขียว
     ฉากหลังสีน้ำเงินมีแนวโน้มในการทำให้เกิดการมองเห็นลดลง
     ความคมชัดในการมองเห็นไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้มของสีวัตถุที่ฉายขึ้นบนจอ

2.10.3. สีบนจอคอมพิวเตอร์
    ลำดับความชอบของสีระหว่างตัวอักษร และฉากหลังหรือสีพื้นบนจอคอมพิวเตอร์ 10 อันดับแรก ได้แก่

1. ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน
ตัวอักษร
6. ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีเขียว
ตัวอักษร
2. ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีดำ
ตัวอักษร
7. ตัวอักษรสีน้ำเงินบนพื้นสีดำ
ตัวอักษร
3. ตัวอักษรสีเหลืองบนพื้นสีดำ
ตัวอักษร
8. ตัวอักษรสีเหลืองบนพื้นสีน้ำเงิน
ตัวอักษร
4. ตัวอักษรสีเขียวบนพื้นสีดำ
ตัวอักษร
9. ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีม่วง
ตัวอักษร
5. ตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลือง
ตัวอักษร
10. ตัวอักษรสีเหลืองบนพื้นสีเขียว
ตัวอักษร

    นอกจากนี้ยังพบว่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ตัวอักษรสีขาว เขียว และเหลือง สามารถที่จะใช้ฉากหลัง หรือสีพื้นเป็นสีดำได้ สีที่ไม่ควรนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นอักษรหรือฉากหลัง ได้แก่ สีแดง สีม่วงแดง ซึ่งการค้นพบการใช้สีบนจอคอมพิวเตอร์ครั้งนี้ขัดแย้งกับการค้นพบการใช้สีบนวัสดุพิมพ์ และภาพที่เกิดจากการฉายในด้านของความชอบ และความชัดเจนในการมองเห็น ฉะนั้นการศึกษาทฤษฎีสีจากวัสดุพิมพ์ หรือสีที่มองเห็นได้จากแสงสะท้อนไม่อาจสอดคล้องกับการใช้สีบนจอคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด ่
 
2.1. เส้น  :   2.2. รูปร่าง  :   2.3. รูปทรง  :   2.4. ขนาด  :   2.5. ทิศทาง  :   2.6. พื้นที่ว่าง  :  
2.7. ลักษณะพื้นผิว  :   2.8. ค่าน้ำหนักสี  :   2.9. สี  :   2.10. สรุปเกี่ยวกับสี
|   แบบฝึกหัด
 
1. การสร้างภาพในงานกราฟิก 3. หลักการออกแบบ 4. ตัวอักษรและตัวพิมพ์