1. การสร้างภาพในงานกราฟิก
2. องค์ประกอบในการออกแบบ
4. ตัวอักษรและตัวพิมพ์

   หลักการออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบศิลปะ คือ การนำเอา เส้น รูปทรง ค่าของน้ำหนัก สี และพื้นผิว มาจัดวางลงในที่ว่าง ส่วนประกอบของการออกแบบได้มาปรากฏตัวอยู่ในที่ว่าง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นในเรื่องของการสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นในที่ว่างของภาพ ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบทางรูปธรรม และยังมีองค์ประกอบทางนามธรรม ซึ่งหมายถึงเนื้อหาสาระอีกส่วนหนึ่งด้วย และในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการออกแบบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะ
หลักการออกแบบประกอบด้วย :
3.1. จังหวะ  :   3.2. การแปรเปลี่ยน  :   3.3. ความกลมกลืน  :   3.4. ความตัดกัน  :  
3.5. สัดส่วน  :   3.6. ความสมดุล  :   3.7. การเน้น  :   3.8. เอกภาพ
3.8. เอกภาพ (Unity)
    เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกแยกกัน หรืออยู่รวมกันได้ดีระหว่างองค์ประกอบ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง ซึ่งสายตามองเห็น และรู้สึกได้ว่ามีความกลมกลืนต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    การสร้างงานออกแบบให้มีเอกภาพมี 4 วิธี ซึ่งนพวรรณ (2540: 194-206) กล่าวไว้ดังนี้
    3.8.1. นำมาใกล้ชิดกัน (Proximity) คือ การนำเอาองค์ประกอบที่อยู่กระจัดกระจายนำมาจัดให้อยู่ใกล้ชิดกัน ทำให้เหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กัน
นำเม้าส์เลื่อนผ่านภาพเเม้าส์พื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลง
   
แสดงการใช้เทคนิคนำมาใกล้ชิด
    3.8.2. การซ้ำ (Repetition) คือ การจัดองค์ประกอบในส่วนต่างๆให้ซ้ำกัน สัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบที่ซ้ำกันอาจเป็นได้ทั้งสี รูปร่าง ผิวสัมผัส ทิศทาง หรือมุม ดังภาพตัวอย่างนี้    
   
ภาพแสดงส่วนประกอบของรูปทรง 2 ชนิด คือ สามเหลี่ยม ที่อยู่บนสี่เหลี่ยมเหมือนกันทั้งหมด
และมีผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน แต่รูปทรงทุกรูปยังดูเหมือนมีความสัมพันธ์กัน
    3.8.3. การกระทำต่อเนื่อง (Continuation) คือ เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ โดยใช้ความต่อเนื่องของ เส้น มุม หรือทิศทาง จากรูปร่างหนึ่งไปอีกรูปร่างหนึ่ง รูปร่างจะดูไม่ล่องลอยอยู่อย่างสับสน แต่จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอน และก่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวดังภาพ
นำเม้าส์เลื่อนผ่านภาพเเม้าส์พื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลง
   
แสดงการใช้เทคนิคการกระทำต่อเนื่องเข้ามาใช้ทำให้ภาพเกิดความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
   3.8.4. ความหลากหลาย (Variety) ถึงแม้ว่าเอกภาพจะเป็นการออกแบบที่มีความกลมกลืนกันขององค์ประกอบต่างๆ แต่การสร้างภาพให้มีเอกภาพมากเกินไปจะทำให้ภาพนั้นเกิดความน่าเบื่อ เช่นภาพกระดานหมากรุก แต่เมื่อเรานำรูปทรงต่างๆ ซึ่งอาจจะซ้ำกันแต่ขนาดต่างกัน สีก็อาจจะซ้ำกันได้แต่ต่างระดับสี ไม่ใช่การซ้ำแบบธรรมดาแต่เป็นความหลากหลายที่แตกต่างกัน เช่นภาพของมอนดรีอัน ชื่อจังหวะลีลาของเส้นตรง    
  ภาพกระดานหมากรุกนำวิธีการใกล้ชิดมาใช้
และซ้ำกันของรูปร่างอย่างสม่ำเสมอทำให้ดูน่าเบื่อ
  ภาพของมอนดรีอัน ชื่อจังหวะลีลาของเส้นตรง รูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้าขนาดต่างๆ ความทึบของเส้นสีดำและการใช้สีในบางรูป
รวมทั้งความถี่ห่างของเส้นในแนวตั้ง และแนวนอนเป็นจังหวะ
ลีลาที่น่าสนใจโดยนำหลักของเอกภาพความหลากหลายมาใช้
 
3.1. จังหวะ  :   3.2. การแปรเปลี่ยน  :   3.3. ความกลมกลืน  :   3.4. ความตัดกัน  :  
3.5. สัดส่วน  :   3.6. ความสมดุล  :   3.7. การเน้น  :   3.8. เอกภาพ
|   แบบฝึกหัด
 
1. การสร้างภาพในงานกราฟิก 3. หลักการออกแบบ 4. ตัวอักษรและตัวพิมพ์